Friday, March 4, 2011

รู้ได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง

แพทย์สามารถตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ได้หลายวิธีได้แก่

1. การวัดความสูงยอดมดลูก เมื่อมาฝากครรภ์ทุกครั้งเป็นการตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทางอ้อม เพราะถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดมดลูกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34

2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์ ซึ่งแม่รับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง ก่อนตาย การที่ทารกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป

3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์ เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรกและตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ

การตรวจสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องมารดา เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น

4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง

5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น





สิ่งที่กระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

1. โรคของแม่ เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด ตายในครรภ์หรือตายคลอด โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้ทารกเติบโตช้าในครรภ์ โรคหัวใจ อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนและเติบโตช้าในครรภ์ การติดเชื้อหัดเยอรมันในการตั้งครรภ์ระยะแรก อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้อกระจก หูหนวก และเติบโตช้าในครรภ์ โรคซิฟิลิส อาจทำให้ทารกบวมน้ำ และเสียชีวิตในครรภ์ เป็นต้น การควบคุมหรือรักษาโรคที่แม่เป็นก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบถึงทารก

2. บุหรี่ จะสูบเองหรือสูดควันบุหรี่ของผู้อื่นระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้แม่ได้รับสารเคมีต่างๆ จากบุหรี่มากกว่า 250 ชนิด สารที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์มากที่สุด ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และนิโคติน ซึ่งทำให้ทารกเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีผลต่อสมอง เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้ และบุหรี่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ได้ เช่นรกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด และถุงน้ำคร่ำแตก ทำให้คลอดก่อนกำหนดและทารกเสียชีวิตตามมา

3. แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขนาดเล็กน้อยในขณะตั้งครรภ์ อาจมีผลเสียต่อทารกในครรภ์ทั้งร่างกายและสติปัญญา โดยการดื่มในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะความพิการทางสมอง

การดื่มแอลกอฮอล์ ในระยะการตั้งครรภ์ช่วงกลางและระยะท้าย อาจทำให้ทารกเติบโตช้า ปัญญาอ่อน สมองเล็ก รูปร่างสมองผิดปกติ สติปัญญาต่ำ สมาธิสั้น และมีปัญหาทางพฤติกรรมตามมาเมื่อโตขึ้น มารดาที่ติดเหล้าคือดื่มปริมาณมากและดื่มบ่อยมีผลทำให้เกิดการแท้ง ทารกน้ำหนักน้อย และตายคลอดเพิ่มขึ้น

4. พฤติกรรมของแม่ การดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการรับประทานยา โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร การหลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดเช่น โคเคน กัญชา เฮโรอีน ยาบ้า ยาเค ยาอี การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พฤติกรรมของมารดาที่ดี จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีการพัฒนาการที่ปกติ

5. จิตใจของแม่ แม่ที่มีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และคลอดก่อนกำหนด

6. พ่อคุณภาพ คือ พ่อที่มีภรรยาเพียงคนเดียว งดเว้นอบายมุขทุกชนิด นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่นำโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาติดภรรยา ดูแลเอาใจใส่ตลอดการตั้งครรภ์ และหลังคลอด ให้กำลังใจและช่วยทำทุกอย่างเพื่อลดความวิตกกังวลของแม่ นอกจากนี้ควรมีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอดด้วย

Wednesday, December 22, 2010

potty trainning resistance

You are in the midst of toilet training. Things appear to be going relatively well. Your child appears to understand when she needs to use the potty, and is using it with some regularity. However, there's just one thing...






Problem #1: Your child is toilet trained at daycare/preschool but refuses to use the toilet at home.


This can be particularly frustrating for parents, as you know that your child can do it, but is just refusing to do it at home. Interestingly, I have found that this tends to occur in younger children (closer to 2 years of age), hence it may be more of a maturational issue.



Things to keep in mind:



Your child may be feeling little to no pressure at school/daycare to use the potty as it may be merely “part of the routine” (all the children go to the bathroom at the same time so your child is not singled out).

Copying what other kids do (or better yet, the older kids) is terrific incentive for a child, as opposed to parental pressure.


As frustrating as it may be, kids will sometimes do things for teachers they won’t do for parents (i.e. they know which buttons they can push in whom!).

So what's a parent to do? Here are some things to try:


Depending on your child’s age, level of language ability, and developmental level (i.e. a child closer to 3 years of age or older), it may be worthwhile trying to discuss this with your child. Keep it neutral and without pressure (“That’s so wonderful you are using the potty at school, your potty is here waiting when you are ready to use it at home”).




Discussions with daycare providers/teachers may also shed light on the problem (What is their routine? what do they say or do with the children?).


But most importantly, in this situation, especially if your child is closer to the age of two years, mere patience and backing off will frequently do the trick. Your child has taken a big step in using the potty at daycare. For whatever reason, s/he may not be ready to use the potty at home. You know s/he is capable, it’s just a mindset to get over. If there is no pressure on your part, your child will come around eventually.

Problem #2: Your child is completely urine trained. However, she continues to refuse to use the potty for bowel movements and specifically requests a diaper when she needs to have a bowel movement.


This problem is not all that unusual, and it may be attributed to either a fear of having a bowel movement in the toilet, the security of a diaper, or a coordination issue.


Things to try:


Again, being patient and backing off may be your best bet, especially if your child is on the younger side (less than three years of age).



If ongoing for several months, now may be the time to take some parental initiative. As per Dr. Iannelli’s article (Toilet Training Resistance), now may be the time to have the child go to the bathroom for bowel movements, gradually have the child sit on the potty with a diaper on, and eventually take it off to have a bowel movement. For those children who the diaper seems to lend much security, some experts even recommend cutting a hole in the diaper and allowing the child to wear the diaper on the potty, but having the BM go into the toilet.

If you notice that your child always stands to have a bowel movement, posture may be more the issue than the security of the diaper. Focus on having your child stand (or whatever transitional stance s/he needs)over the potty and then gradually go to sitting. In one particular example, a mother told me that she let her child be naked from waist down and allowed him to run back and forth to the bathroom, essentially allowing him to experiment with different stances, until he was able to have a bowel movement sitting on the potty. She found that once he was successful sitting on the potty, he was able to do it subsequently.



Problem #3: You know that your child can use the potty, but she is being very erratic and staying motivated seems to be the problem.

Here is a situation where you may want to consider offering rewards for using the potty.

On the pro side:


Experts and parents alike have found rewards to be helpful.


It is frequently the incentive your child needs to get started (or to stay motivated).


On the down side:

Other experts discourage use of rewards for behavior, as they feel that the child should be motivated from within to use the potty.


Some children may not clearly understand and want a reward when unearned. This may cause more trouble than it’s worth.


Candy, a very powerful and frequently used motivator, is the worst reward. Not only is it problematic with dental care, but it may also interfere with meals; and it is not uncommon to have a child peeing a drop of urine every 5 minutes for a candy treat.


Certain children may prove stubborn (or should I say resilient) enough and prolong the reward system for months.


Some children no matter what you try, will not be enticed by stickers, small toys or other rewards.


Conclusions:


Rewards do work for some, but not all children.


Keep rewards tangible and simple (i.e. 10 stickers to get a small prize may be too many for some children).


If a child does not understand or is easily frustrated by the reward system you create, it’s best to not use it.


For the sake of your child’s teeth and dietary habits, don’t use candy!


Know when to end it. When mastery is achieved, it’s time to stop the rewards. Frequently kids lose interest as their mastery of toilet training occurs and you may have no trouble. Others may hang on. Sometimes in a very stubborn child one can trade the reward chart/system for one “final toy”.


Final words on toilet training (as it is onward to Sibling issues for my next series of articles): Patience and Perspective! I know I sound like a broken record, but it is true, your child will not be in diapers forever, and patience is a necessary component on the parent’s part. Also, it’s good to keep perspective when you hit a stumbling point: this is just a small snag and your child will be toilet trained.


Well worth the few extra dollars








I bought this with the hope that my son would get interested in the potty because it had Elmo on it. I was pleasantly surprised by how well it is made. This is the third potty chair I have purchased (I returned the other two). Iis heavier plastic than the others. It is easy to put together and take apart for cleaning. The potty opening is larger than the others, so I am hoping there will be fewer times that I have to clean the entire chair after use. The removable seat does fit the big toilet, so I don't have to purchase a second seat when he is ready to try the big toilet. Lastly, Elmo is cute and says positive remarks when the kids push his hands. This is worth the extra $10 over many of the others.


Perfect! It is perfect. Its a great stand alone potty. Then when they're ready, you just pop off the white part and it fits very secure over the big toilet, and then the bottom part becomes a nice sturdy step stool for them to get onto the big potty. I have 4 different potty chairs and this is the most functional and versatile.



Fun for potty time!

My daughter LOVES Elmo and he delivers, as always, with the potty chair! He talks in both English and Spanish! The tray is easy to remove and clean. With very few crevices or tiny places, clean up is quick and easy. Elmo does stick out a bit far, so when she sits on it to potty, he preemptively congratulates her, but she likes it! The only problem with this chair is that when she's not pottying she still sneaks away to "play" with Elmo by pushing him so that he talks to her.

Wednesday, May 6, 2009

ปัญหาเกี่ยวกับลูกอัณฑะในเด็ก

ปัญหาเกี่ยวกับลูกอัณฑะในเด็ก


ปัญหาเกี่ยวกับลูกอัณฑะในเด็กลูกอัณฑะพลุบๆโผล่ๆ (Retractile testis) ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะพบว่าลูกชายดูเหมือนจะมีอัณฑะข้างเดียว แต่บางครั้งก็เห็นทั้ง 2 ข้างอยู่ในถุงอัณฑะ ซึ่งที่เป็นดังนี้ก็เพราะลูกอัณฑะจะมีสายยึดลูกอัณฑะที่มีการยืดหดได้ดีพอควร ทำให้เวลาที่ตื่นเต้น หรืออากาศเย็น ก็มีการหดตัวของสายห้อยลูกอัณฑะดึงให้ลูกอัณฑะข้างนั้นขึ้นมาอยู่สูงที่บริเวณขาหนีบ แทนที่จะลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเหมือนเวลาปกติ ซึ่งภาวะนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ และไม่ได้มีผลกระทบต่อการเจริญพันธ์เลย
คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้เวลาในการสังเกตดูว่าลูกอัณฑะข้างที่สงสัยว่าผิดปกตินั้น ได้ลงมาอยู่ในถุงหรือไม่เวลาที่ให้เด็กยืน หรือในตอนที่อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นสบาย จะช่วยให้มีการผ่อนคลาย และจะพบว่าสายยึดลูกอัณฑะจะหย่อนให้ลูกอัณฑะลงมาอยู่ในถุงอัณฑะได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นหนุ่มก็จะไม่พบปัญหานี้ และลูกอัณฑะจะอยู่ในถุงอัณฑะในตำแหน่งปกติ โดยไม่ต้องการการรักษาอะไร และไม่มีข้อต้องวิตกอะไรเลย
ลูกอัณฑะข้างเดียว (ไข่ทองแดง)
ในเด็กผู้ชายลูกอัณฑะควรจะลงมาอยู่ในถุงอัณฑะให้ตรวจคลำได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางครั้งจะพบว่าลูกอัณฑะจะยังไม่พบว่าลงอยู่ในถุงอัณฑะ แต่จะค่อยเลื่อนลงมาในภายหลัง แม้แต่ในเด็กที่คลอดครบกำหนด บางครั้งก็จะพบว่ามีลูกอัณฑะในถุงอัณฑะเพียงข้างเดียว (บางครั้งอาจไม่พบทั้ง 2 ข้าง) ซึ่งโดยทั่วไปชาวบ้านจะเรียกว่า “ไข่ทองแดง” โดยทั่วไปถ้าเมื่ออายุเกิน 1 ปีไปแล้วยังไม่พบลูกอัณฑะทั้ง 2 ข้างในถุงอัณฑะ ก็จะไม่พบว่าลูกอัณฑะจะเลื่อนตัวลงมาได้เองอีก
พบว่าลูกอัณฑะที่มีปัญหาไม่เลื่อนลงมาตามปกติมักจะเป็นข้างขวา และส่วนใหญ่จะคลำพบได้ที่บริเวณขาหนีบเป็นก้อน แต่ในบางรายก็อาจจะคลำไม่พบ เพราะว่าลูกอัณฑะอาจจะไม่มีมาตั้งแต่กำเนิด หรือว่ายังคงค้างอยู่ในช่องท้องไม่ได้เลื่อนลงมาในช่องบริเวณขาหนีบ ก็ได้
คำอธิบายของภาวะนี้ เชื่อว่าเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนที่ไม่ปกติ หรือจากการที่สิ่งอื่นมาปิดกั้นการเคลื่อนตัวของลูกอัณฑะ เช่น การมีไส้เลื่อน หรือส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ
การรักษา ส่วนใหญ่จะรอจนอายุเกิน 1 ปี เพื่อให้เวลาที่ลูกอัณฑะจะเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเอง ในบางรายอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ทางด้านฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหาด้านความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือไม่ และเนื่องจากการที่ลูกอัณฑะไม่ลงมาอยู่ในถุงอัณฑะอาจมีผลในระยะยาวเกี่ยวกับการเจริญพันธ์ และอาจเกิดปัญหามะเร็งของลูกอัณฑะข้างนั้นได้ จึงมีการพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อนำลูกอัณฑะที่อยู่ผิดที่ให้ลงมาอยู่ในถุงอัณฑะอย่างที่ควรจะเป็น (Orchipexy) เพื่อทำให้ลูกอัณฑะนั้นยังสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำผ่าตัดก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผ่าตัดก่อนที่ลูกอัณฑะนั้นจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ และไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ถ้าลูกของคุณมีปัญหานี้ ไม่ควรรอจนเด็กโตมากแล้ว เพราะถึงตอนนั้นลูกอัณฑะอาจจะไม่มีสภาพที่จะทำงานได้อย่างเดิม
น.พ.ประสงค์ พฤกษานานนท์
คลินิกเด็ก.คอม

Wednesday, August 20, 2008

Conception & the signs of pregnancy เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

" เมื่อชีวิตครอบครัวเริ่มต้นด้วย การแต่งงาน สิ่งหนึ่งที่คู่สามีภรรยาทุกคู่คงคิดถึงก็คือ การมีลูกตัวน้อยๆ เพิ่มเติมเข้ามาในชีวิต เพื่อให้ครอบครัวสมบูรณ์เต็มที่ และแน่นอนว่าทุกคนคงอยากมีลูกที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยใช่ไหมครับ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ ถ้าเพียงแต่คุณทั้งคู่เตรียมความพร้อมให้ดีที่สุด "และที่อยากให้ทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีลูกนั่น ก็เพราะเราจะพบว่า หลายกรณีที่อาจเกิดความผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นในครรภ์นั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้ผลของการตั้งครรภ์ออกมาดีที่สุด แต่ในบางครั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงหรือไม่สามารถรักษาได้ และที่สำคัญกว่านั้นคือ อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติ พิการ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นเสมือนฝันร้ายของพ่อและแม่ทุกคน ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเอง!!!ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ และไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในหลายกรณีก็สามารถป้องกันและรักษาได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ครับ การป้องกันเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์มากกว่าการรักษาอย่างเทียบกันไม่ได้ ดังที่หลายๆ ท่านคงทราบกันอยู่แล้ว แต่ที่เกิดความผิดพลาดไม่ได้ป้องกันนั้น อาจเป็นเพราะความไม่รู้ถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากความเข้าใจผิดในหลายๆ ประเด็น
เตรียมตัวก่อนท้อง หัวใจสำคัญของครรภ์ที่สมบูรณ์
จริงๆ แล้วการฝากครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์วิธีนี้นับว่า เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดหรอกครับ เพราะเมื่อมาฝากครรภ์และตรวจพบว่า มีความผิดปกติหรือมีโรคแทรกซ้อน คุณแม่ก็ตั้งครรภ์ไปเรียบร้อยแล้วใช่ไหมครับ... เพราะอย่างนี้ที่เราคิดว่าเร็วแล้วก็ยังอาจจะสายเกินไปเอ...แล้วถ้าอย่างนั้นต้องตรวจกันตั้งแต่ยังไม่ท้องเลยหรือนี่ ? ใช่แล้วครับ ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่ตอนก่อนท้องโน่นเลยครับ จึงจะดีที่สุดสำหรับการป้องกัน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีเพียงส่วนน้อยของคุณแม่เท่านั้น ที่จะมาพบแพทย์เพื่อปรึกษา และขอรับการตรวจต่างๆ ก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หลายท่านอาจมีความสงสัยว่า แล้วถ้าอยากจะไปตรวจก่อนตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเผชิญกับอะไรบ้าง ? เพราะการไปพบแพทย์แต่ละครั้งนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าสนุกสนานนัก เราลองมาดูรายละเอียดกันหน่อยเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยังไงล่ะครับก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การมาพบแพทย์เพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์นั้น จำเป็นต้องมาทั้งสองฝ่ายนะครับ แต่คุณสามีน่ะมักจะไม่ค่อยอยากมา ใครที่มีสามีอยู่ในโอวาทก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ยอมจริงๆ ก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็นเสียหน่อย ก็ลูกที่กำลังจะมีนั้นเขาเป็นลูกของเราทั้งคู่ไม่ใช่หรอกหรือครับ...


ทำไมต้องซักถามประวัติ
เริ่มตั้งแต่ซักถามประวัติของคุณทั้งคู่เกี่ยวกับความผิดปกติ หรือโรคประจำตัวต่างๆ ใครที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอะไรช่วยบอกด้วยก็ดีนะครับ อย่าไปคิดเอาเองว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยหรือรักษาหายแล้ว เพราะบางโรคอาจกลับเป็นขึ้นมาใหม่ได้ในขณะตั้งครรภ์ ส่วนในกรณีที่คุณเคยตั้งครรภ์มาก่อนหน้านี้แล้ว คุณหมอจะซักถามถึงความผิดปกติต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด การคลอดทารกน้ำหนักน้อย ฯลฯ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วยส่วนประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้แก่ ประวัติการมีประจำเดือนว่าปกติหรือไม่อย่างไร รวมทั้งประวัติการคุมกำเนิดต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งในเรื่องนี้อาจช่วยให้คุณหมอแนะนำคุณถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่จะเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ได้นอกจากนั้นยังต้องถามถึงประวัติของคนอื่นในครอบครัวอีกด้วย ถึงโรคบางอย่างที่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือด ความพิการต่างๆ ครรภ์แฝด เป็นต้น เพราะอาจมีการถ่ายทอดมายังคู่ของคุณและส่งต่อไปยังลูกน้อยของคุณได้จะเห็นว่าประวัติส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องของทางฝ่ายคุณแม่เสียมากกว่า ส่วนประวัติทางคุณพ่อนั้นก็คงเป็นเพียงคร่าวๆ เท่านั้น แต่ถ้ามีอะไรที่คุณหมอไม่ได้ซักถาม คุณก็ควรต้องบอกให้คุณหมอทราบให้หมดนะครับ อย่าได้ปิดบังอะไรเชียว


ตรวจร่างกาย

โดยทั่วไปแล้ว ก็ต้องตรวจร่างกายอย่างครบถ้วนทุกระบบ เพื่อยืนยันความสมบูรณ์แข็งแรงของคุณทั้งคู่ แต่ถ้าสงสัยความผิดปกติอะไร ก็อาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติมบ้างตามความจำเป็นครับ ส่วนการตรวจอีกอย่างที่คุณผู้หญิงกลัวนักหนาก็คือ การตรวจภายในครับ... ส่วนใหญ่แล้วคุณผู้หญิงมักจะถามเสมอว่าจำเป็นไหม ? ถ้าตามหลักการแล้วนั้นก็ต้องตอบว่าจำเป็นครับ เพราะความผิดปกติบางอย่าง โดยเฉพาะภายในอุ้งเชิงกรานนั้น หลายกรณีจะไม่มีอาการแสดงอย่างชัดเจน แต่จะวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน เช่น เนื้องอกของมดลูก หรือรังไข่ ซึ่งขนาดไม่โตมากนัก ความผิดปกติของปากมดลูก เป็นต้นแต่ถ้าจะต่อรองกับคุณหมอในเรื่องนี้ ก็คงพอจะยอมความกันได้บ้างเหมือนกัน ซึ่งก็คงแล้วแต่คุณกับคุณหมอของคุณเจรจากันเองนะครับ ส่วนการตรวจเต้านมนั้น คงเพียงแค่ตรวจทั่วไปตามปกติเท่านั้น ไม่จำเป็นถึงกับต้องตรวจแมมโมแกรมหรอกครับ ยกเว้นในกรณีที่สงสัยว่าจะมีก้อนเนื้อหรือถุงน้ำเท่านั้น


ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการตรวจเลือดนั่นเองครับ ซึ่งต้องตรวจกันทั้ง 2 ฝ่ายเช่นกัน แต่เชื่อไหมครับว่า ส่วนใหญ่แล้วคุณผู้หญิงจะเป็นฝ่ายที่ยินดีให้ตรวจ แต่ทางคุณผู้ชายเสียอีกที่มักจะเป็นฝ่ายกลัวการตรวจเลือด...พอบอกว่าจะต้องเจาะเลือดเท่านั้น บางคนก็หน้าซีด เหงื่อแตกทันที...แถมพอเจาะเลือดเสร็จเรียบร้อยก็โม้อีกต่างหากว่าไม่กลัว แหม...น่าหมั่นไส้จริงเชียวการตรวจเลือดนั้นจะตรวจอะไรบ้างหรือครับ ปกติแล้วจะตรวจเลือดทั่วไป เพื่อตรวจการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ได้แก่ เบาหวาน การทำงานของตับ การทำงานของไต ไขมันในเลือด เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด เพื่อดูว่ามีภาวะซีดหรือไม่ ตรวจจำนวนของเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด ตรวจหมู่เลือด และหมู่เลือด Rh การตรวจเลือดนั้นอาจไม่ได้ทำในวันแรกที่ไปพบคุณหมอก็ได้นะครับ เนื่องจากบางครั้งจำเป็นต้องงดอาหารก่อนที่จะมาตรวจ โดยเฉพาะการตรวจเบาหวาน ดังนั้นคุณหมออาจนัดคุณมาตรวจในภายหลังอีกทีในปัจจุบันนี้ คุณหมอมักนิยมที่จะตรวจคัดกรองโรคทาลัสซีเมียเพิ่มเติมด้วย โรคนี้เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังลูกคุณได้ ทั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาการปกติครับ เนื่องจากคุณทั้งคู่อาจมีโรคนี้แฝงอยู่โดยที่คุณไม่รู้มาก่อนเลย คือคุณเป็นพาหะนั่นเองสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญทั้งหลาย ได้แก่ ซิฟิลิส ตับอักเสบบี และเอดส์ครับ เนื่องจากเจ้าโรคต่างๆ นี้สามารถติดต่อไปยังลูกได้ และถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อ ความพิการ หรืออันตรายถึงชีวิตได้ด้วย เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคุณสามีมักจะบ่ายเบี่ยงที่จะตรวจ... อาจกลัวความลับในอดีตเปิดเผย อะไรทำนองนั้น ...ถ้าทำผิดไปแล้วก็ยอมรับเสียดีกว่านะครับคุณผู้ชายทั้งหลาย ดีกว่าที่จะไปเสียใจในภายหลังนอกจากนั้นก็คงจะต้องตรวจปัสสาวะอีกด้วย เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ เช่น เบาหวาน หรือโรคไต เป็นต้น แต่การตรวจปัสสาวะอย่างเดียวนั้นคงบอกแน่นอนถึงโรคดังกล่าวไม่ได้ อาจต้องทำการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป


โรคทางพันธุกรรม

คู่สมรสบางคู่ อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมบางอย่างในลูกได้ นอกจากเรื่องของโรคทาลัสซีเมียที่กล่าวมาแล้ว หลายท่านคงเคยได้ยินหรือทราบมาบ้างเกี่ยวกลุ่มอาการดาวน์ (Down's Syndrome) ซึ่งมีผลทำให้ลูกที่เกิดมามีพัฒนาการช้าหรือปัญญาอ่อน และอาจมีความพิการทางร่างกายอื่นๆ ร่วมด้วย โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นในคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป (นับถึงวันคลอด) โดยโอกาสเกิดโรคนี้จะพบสูงขึ้น เมื่อคุณแม่อายุมากขึ้นครับ ในกรณีที่พบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงสูงนั้น คุณหมอจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยก่อนคลอด สมัยก่อนจะใช้วิธีเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซม ซึ่งจะทำในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4-5 เดือนครับ แต่ปัจจุบันนี้สามารถตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิทยาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนสามารถตรวจได้ ไม่มีอันตรายและสามารถทราบผลได้รวดเร็ว ซึ่งถ้าคุณแม่สนใจก็สามารถติดต่อในโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ครับกรณีที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมนั้น ได้แก่ การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค เคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิดหรือเป็นโรค หรือตัวคุณเองเคยคลอดบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ในกรณีต่างๆ เหล่านี้คุณหมออาจแนะนำให้คุณไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้คำปรึกษาที่เหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งอาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมอีกตามความจำเป็นครับ


การฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนนั้นเป็นการป้องกันโรคที่ใช้มานานและได้ผลดีวิธีหนึ่ง ดังนั้นการฉีดวัคซีนในช่วงก่อนที่จะตั้งครรภ์ก็น่าจะมีประโยชน์ใช่ไหมครับ แต่เรื่องนี้ไม่ได้ตรงไปตรงมาเสมอไป วัคซีนหลายชนิดนั้นปลอดภัยแม้จะให้ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่วัคซีนบางชนิดกลับก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะวัคซีนชนิดตัวเป็น คือ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงนั่นเองครับ และเจ้าวัคซีนที่ฉีดเข้าไปนี่เอง ที่กลับจะไปก่อให้เกิดโรคกับลูกในท้อง ซึ่งบางกรณีอาจรุนแรงจนถึงกับทำให้เกิดความพิการได้หลายอย่างทีเดียวที่มักจะกล่าวถึงกันบ่อยๆ ก็คือ วัคซีนโรคหัดเยอรมัน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า การเป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกนั้น สามารถก่อให้เกิดความพิการต่อทารกได้ในหลายระบบ ดังนั้นจึงมีการพูดถึงการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคนี้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่ก็มีข้อพึงระวังที่สำคัญ คือ ไม่ควรตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนหลังจากที่ฉีดวัคซีนนี้ไปครับ เพราะวัคซีนนี้เป็นชนิดตัวเป็น ซึ่งแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจเกิดโทษต่อลูกในท้องได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าคุณสมควรฉีดวัคซีนนี้หรือไม่ ก็ลองปรึกษาคุณหมอดูนะครับ คุณหมออาจตรวจเลือดเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันก่อน ถ้ามีภูมิแล้วก็สบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่มีภูมิ จึงจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนและแนะนำการคุมกำเนิดที่เหมาะสม ในช่วง 3 เดือนแรกด้วยส่วนวัคซีนชนิดอื่นๆ นั้น แนะนำให้ปรึกษากับคุณหมอดูถึงความจำเป็น และความปลอดภัยก่อนที่จะตัดสินใจฉีดนะครับ


การใช้ยา

รื่องนี้หลายท่านคงเข้าใจดีว่า การใช้ยาบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ แต่ยาหลายชนิดก็ปลอดภัยครับ ดังนั้นในช่วงที่ไปพบคุณหมอควรแจ้งให้ทราบถึงยาที่กำลังใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อดูว่ายาชนิดไหนปลอดภัยหรือไม่อย่างไร แต่ไม่แนะนำให้หยุดยาต่างๆ เองนะครับ โดยเฉพาะยาที่คุณต้องรับประทานเพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่งอยู่ ไม่เช่นนั้นโรคดังกล่าวอาจกลับเป็นมากขึ้นได้ ส่วนถ้าจำเป็นต้องใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์คุณหมอก็อาจปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดยาเพื่อความเหมาะสมให้อีกครั้งครับที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงเรื่องราวคร่าวๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมของคุณและคู่ของคุณก่อนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นไปได้ คู่สมรสทุกคู่ควรที่จะต้องรู้และตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ในปัจจุบันหลายคู่ก็ให้ความสนใจ มาปรึกษาและมารับการตรวจต่างๆ ที่กล่าวมา มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตั้งแต่ก่อนแต่งงานเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบ หรือยังไม่เข้าใจถึงกระบวนการดังกล่าว ทำให้ยังเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นมา ทั้งที่น่าจะป้องกันได้ ดังนั้น ก็หวังว่าท่านผู้อ่านที่กำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์หรือกำลังจะแต่งงานคงจะได้ความรู้และประโยชน์บ้างนะครับ ที่สำคัญน่าจะช่วยในการตัดสินใจด้วยนะครับคุณแม่หลายท่านมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งว่า จะพยายามปฏิบัติตนและทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ที่สุด สำหรับเป็น “คุณแม่คุณภาพ” เพื่อความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกน้อยที่กำลังจะเกิด ดังนั้นแค่เพียงตัวคุณกับสามีสุดที่รักเพิ่มความพยายามอีกเล็กน้อย ด้วยการเตรียมความพร้อมดังกล่าว ครอบครัวของคุณก็สามารถที่จะเป็น “ครอบครัวคุณภาพ” ที่มีความสุขและความสมบูรณ์ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก


การตรวจหลังคลอดหลัง

จากที่การคลอดเสร็จสิ้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแล้ว โดยทั่วไปคุณหมอก็จะให้คุณนอนพักในโรงพยาบาล จนแข็งแรงดีทั้งแม่และลูกแล้วจึงอนุญาตให้กลับไปพักต่อที่บ้านได้ ก่อนกลับนั้นคุณหมอจะนัดคุณแม่ตรวจอีกครั้ง หลังจากคลอดประมาณ 4-6 สัปดาห์ คุณแม่อาจมีความสงสัยถึงความจำเป็นของการตรวจดังกล่าว รู้สึกว่าพอคลอดแล้วก็กลับมาแข็งแรงดีนี่นา ทำไมต้องมาตรวจอะไรกันอีก หลายท่านก็เลยไม่สนใจกับนัดดังกล่าว แล้วไม่มาเสียอย่างนั้นจริงๆ แล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ การตรวจหลังคลอดนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งทีเดียว เพราะระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเกี่ยวกับร่างกายของคุณแม่ ซึ่งพอคลอดแล้วก็จะต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าที่ทุกอย่างจะกลับเข้าที่เข้าทางเหมือนเดิมครับ การตรวจหลังคลอดนั้นจะเป็นการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างนั้นกลับเป็นปกติแล้วนั่นเองการตรวจก็จะประกอบด้วย การตรวจร่างกายทั่วไปตามความจำเป็น และการตรวจภายในครับ การตรวจภายในนั้น นอกจากจะตรวจมดลูกว่ากลับเป็นปกติ หรือ “เข้าอู่” แล้วหรือไม่ นอกจากนั้นก็เป็นโอกาสอันดีสำหรับคุณผู้หญิงทุกท่านอีกด้วยที่จะได้ตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ อีกด้วย โดยเฉพาะการตรวจเช็กมะเร็งปากมดลูกครับ ถ้าอยู่เฉยๆ ให้มาตรวจเองก็รอไปเถิดครับ นอกจากนั้นก็ยังเป็นจังหวะที่ดีอีกด้วยที่จะเริ่มต้นการคุมกำเนิดที่เหมาะสมครับ






If your health and nutrition MOTs are up to scratch, then it’s time to learn more about when your body releases your egg – otherwise known as your ovulation cycle. This helps you know the time when you’re most fertile.
When do you ovulate?: Your periods happenaround every 23 to 35 days and you're most likely to ovulate roughly two weeks before your period, although it varies, woman to woman. Most women have a 28-day cycle and ovulate around day 14.
Ovulation signs: When you're ovulating you might notice your vaginal mucus increases and becomes gluey or like egg white. Recording your temperature: Important ovulation signs also include clear changes in your body’s temperature. You can predict your ovulation cycle by taking your temperature. It drops just before and rises after ovulation has taken place but you need to record it at the same time every morning, before drinking, eating or getting out of bed.
Buy a predictor kit: You can buy ovulation predictor kits at large chemists and most large supermarkets. They contain sticks that you use to test your urine, a bit like a pregnancy test.
Have sex regularly during your fertile period: When you think you’ve spotted all your ovulation signs, it’s time to have plenty of sex! This will boost your chances of conceiving, especially as sperm can survive for up to 7 days so are more likely to connect with the egg, which only survives unfertilised for up to a day.


How healthy habits can help you conceive






Getting your body ready for trying for a baby needn’t be too complicated or stressful – for you it’s mostly to do with looking after yourself and preparing your body to create and carry new life. For your partner, it’s all about making sure his sperm are healthy enough to make it to their final destination! Get your partner involved too
Of course, how quickly you get pregnant isn't all down to you. Your partner has a very important role to play too! He should try to:
Stop smoking and avoid any excessive intake of alcohol.
Reduce caffeine intake too.
Reduce his stress levels.
Stay away from hazardous work environments: some chemicals can affect his sperm.
Keep his testicles cool: make sure he's got some roomy, cotton underpants and ensure his trousers aren’t too tight.
Encourage him to eat well: plenty of fruit and vegetables will provide a wide range of vitamins and minerals including Vitamin C - essential for producing healthy sperm. Foods high in Zinc are good for virility so he should be eating foods such as seafood, wholefoods, meat, eggs and rye bread. Lots of calcium rich dairy foods and iron rich red meat and pulses should also be on the menu.
Stay relaxed and enjoy the practice!





The best advice for any couple trying for a family is to relax and enjoy the practice! Mother Nature often doesn't want to feel rushed or pressurised.
It's a good idea to keep having a fun and loving sexual relationship all month – so you don't begin to only associate sex with making babies and pile the pressure on each other.





Give your body a Check-up




Before you start trying to get pregnant, it's a good idea to give yourself a check-up:


Smoking: Smoking will severely reduce your chances of actually conceiving, not to mention be potentially harmful to your baby's development and give you a higher risk of miscarriage or ectopic pregnancies. If you smoke, try and give up now. Your doctor should be able to help you.





  • Diet and exercise: Being too over or under weight may affect your fertility. Exercise and a well balanced diet will also help you get your body in tip-top shape for trying for a baby.



  • You should cut back on processed foods and foods containing high levels of fat and sugar. But also, make sure you’re getting plenty of fruit and vegetables- at least 5 portions a day and use a variety of colours plenty of starchy foods - like bread, pasta, rice (preferably wholegrain which contains more folic acid), oats and potatoes protein with each meal - such as lean meat and chicken, fish (twice a week), dairy, eggs, nuts, seeds and pulses




  • Vitamin supplements: If you're having a balanced diet you probably don't need extra vitamins but if you are taking supplements, make sure they're suitable for women trying to conceive. Regular
vitamin supplements often contain Vitamin A which could be harmful in too large a dose.



  • Folic acid: Folic acid is important as it helps prevent some developmental defects, such as spina bifida. Folic acid occurs in some foods, such as fortified breakfast cereals, bananas and leafy green vegetables but it's difficult to get enough every day to match the 400 micrograms recommended for women planning and starting a family. That’s why it’s recommended you take a folic acid supplement during pregnancy. So if you’re not already taking it, it’s a good idea to start now and continue until your 12th week of pregnancy.




  • Medications: Some medicines can lower your fertility levels, so check with your doctor if you are taking any, and if you've been recently using an IUD, Depro-Provera or Norplant, or have been sterilised. If you've recently been taking the pill it may be a good idea to allow your body to adjust for a couple of months before you start trying to conceive but again, that's something to talk to your doctor about.




  • Stress: Our modern lifestyles can often be stressful and it'll help your chances of conception if you try to keep stress to a minimum – although it's often easier said than done!






    • Working out your ovulation cycle
      If your health and nutrition MOTs are up to scratch, then it’s time to learn more about when your body releases your egg – otherwise known as your ovulation cycle. This helps you know the time when you’re most fertile.
      When do you ovulate?: Your periods happenaround every 23 to 35 days and you're most likely to ovulate roughly two weeks before your period, although it varies, woman to woman. Most women have a 28-day cycle and ovulate around day 14.
      Ovulation signs: When you're ovulating you might notice your vaginal mucus increases and becomes gluey or like egg white. Recording your temperature: Important ovulation signs also include clear changes in your body’s temperature. You can predict your ovulation cycle by taking your temperature. It drops just before and rises after ovulation has taken place but you need to record it at the same time every morning, before drinking, eating or getting out of bed.
      Buy a predictor kit: You can buy ovulation predictor kits at large chemists and most large supermarkets. They contain sticks that you use to test your urine, a bit like a pregnancy test.
      Have sex regularly during your fertile period: When you think you’ve spotted all your ovulation signs, it’s time to have plenty of sex! This will boost your chances of conceiving, especially as sperm can survive for up to 7 days so are more likely to connect with the egg, which only survives unfertilised for up to a day.


    Thank you : Dumek


    Posted by Aorsak at 2:14 AM